การเพิ่มผู้ดูแลระบบและการกำหนดบทบาท

การเพิ่มผู้ดูแลระบบและการกำหนดบทบาทระบบผู้ดูแลของ WordPress เราสามารถอนุญาตหรือมอบสิทธิ์ให้กับผู้ใช้งานสามารถเข้ามาดูแลเว็บร่วมกับเราได้ ในกรณีที่องค์กรมีขนาดใหญ่ เราสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงของแต่ละ User ได้ เราสามารถดูผู้ใช้ทั้งหมดในเมนู ผู้ใช้ / ผู้ใช้ทั้งหมด จะสามารถตรวจสอบได้ว่าในระบบหลังบ้านของเรามีผู้ใช้ใดบ้าง และแต่ละผู้ใช้ มีบทบาทอะไร

การเพิ่มผู้ดูแล

ไปที่เมนู ผู้ใช้ / เพิ่มผู้ใช้ใหม่ หรือสามารถคลิกที่ปุ่มเพิ่มผู้ใช้ใหม่ได้เลย

กรอกข้อมูลตามด้านล่าง จะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ดังนี้
– ชื่อผู้ใช้งาน กรอกด้วยข้อมูลภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับชื่อองค์กร หรือ User ส่วนนี้จำเป็นต้องกรอก เนื่องจากเราต้องเข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งานนี้
– อีเมล เป็นอีเมลที่เราใช้งานเป็นหลัก
– รหัสผ่าน ควรตั้งเป็นรหัสที่คาดเดาได้ยาก มีการผสมระหว่างตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวพิมพ์เล็ก และตัวเลข เพื่อป้องกันการการถูก Hack เว็บไซต์ได้
– บทบาท เป็นการกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน

บทบาทแต่ละประเภท สามารถจัดการส่วนต่างๆ ของเว็บไซต์ได้ ดังนี้

ต่อไปเราจะมาดูกันว่าบทบาทแต่ละบทบาทมีหน้าที่ และมีสิทธิ์อะไรบ้าง

1.Administrator หรือผู้ดูแลระบบ
ผู้ดูแลระบบ คือผู้ที่สามารถเข้าถึงการทำงานของเว็บไซต์ได้ทุกส่วน มีความสามารถในการ จัดการผู้ใช้งาน สร้าง Content สร้าง Post ติดตั้งปลั๊กอินต่างๆ ได้อีกด้วย

2.Editor หรือผู้ตรวจทาน
ผู้ตรวจทาน คือผู้ที่สามารถสร้างและแก้ไข Page Post ได้ สามารถมีสิทธิ์ในการตรวจทานเนื้อหาได้

3.Author หรือผู้เขียน
คือ ผู้ที่สามารถที่จะเขียนบทความ เพิ่ม ลบ แก้ไข และสามารถเผยแพร่ Post ในส่วนที่เป็นของตัวเองได้เท่านั้น ไม่สามารถแก้ไขในส่วน Post ผู้อื่นได้

4.Contributor หรือผู้เขียนร่วม
คือผู้ที่ได้รับสิทธิ์ให้เขียนบทความได้ สามารถ เพิ่ม และแก้ไขบทความของตัวเอง แต่ยังไม่สามารถเผยแพร่ได้ จะต้องรอให้ Editor หรือ Administrator เป็นผู้อนุมัติ

5.Subscriber หรือผู้ใช้งานทั่วไป
คือผู้ใช้งานทั่วไป ที่สมัครเพื่อเป็นสมาชิกเว็บไซต์ เพรือรับรู้ข่าวสาร และคอมเมนต์ หรือดูข้อมูลสำหรับสมาชิก

6.Shop Manager หรือผู้จัดการร้าน
ในกรณีที่มีการใช้งานปลั๊กอิน WooCommerce จะมบทบาทนี้เพิ่มขึ้นมา ซึ่งมีไว้เพื่อจัดการเกี่ยวกับข้อสินค้าได้

การลบผู้ใช้งานทั่วไป

การลบ User จะสามารถลบได้เฉพาะบทบาทของ Administrator เท่านั้น โดยเข้าสู่หน้าผู้ใช้ทั้งหมด โดยนำเมาส์ไปชี้ที่ชื่อของผู้ใช้นั้นๆ จะมีคำว่า ”ลบ” จากนั้นก็สามารถคลิกลบได้เลย

การลบผู้ใช้งานที่เป็น Administrator

ในกรณีที่เราต้องการแก้ไขชื่อ ข้อมูล Email เราจะไม่สามารถแก้ไขได้ ต้องทำการ ลบ และสร้าง Account ใหม่

เราจะต้องสร้าง User ปลอมๆ ที่มีบทบาท Administrator โดยกรอกข้อมูลอะไรก็ได้ และจุดสำคัญห้ามใส่อีเมลหลัก เพราะอีเมลของ User จะไม่สามารถซ้ำกันได้

เมื่อสร้าง User ใหม่เรียบร้อยแล้วให้ทำการออกจากระบบ แล้วทำการ Login เข้าสู่ระบบ ด้วย User ใหม่ที่สร้างไว้ จากนั้นให้ทำการลบ Account เดิมออก จากนั้นสร้าง Account ใหม่ทีต้องการใหม่อีกรอบ ใส่ข้อมูลให้ถูกต้อง ตามวิธีการข้างต้น

สร้างเสร็จแล้ว จากนั้น ให้ทำการ Login เข้าสู่ระบบ User ใหม่ แล้วทำการ ลบ User ปลอม ที่เราสร้างขึ้นทิ้งไปได้เลยค่ะ