เนื้อหาของคอร์ส
WordPress Basic
เกี่ยวกับบทเรียน

การทําเว็บหลายภาษา บน WordPress มีหลายวิธี แต่ที่ส่วนใหญ่ทำกันเพื่อให้ง่ายที่สุด อาจมีอยู่ 2 แนวทาง ดังนี้

  1. ทำแยกกันเป็นคนละเว็บไปเลย
    คือ มี 1 ภาษาอยู่บนโดเมนหลัก เช่น www.mydomain.com กับอีกภาษาจะทำเว็บแยกออกมาต่างหาก อาจจะสร้างที่ซับโดเมน เช่น www.en.mydomain.com หรือจะไปสร้างที่ directory ต่อท้ายชื่อโดเมนก็ได้ เช่น www.mydomain.com/en

ข้อดีคือทำง่าย แยกเนื้อหาได้ชัดเจนแม้จะมีปริมาณข้อมูลไม่เท่ากัน แต่ข้อเสียมีเพียงอย่างเดียว คือ มันไม่เท่ กดเปลี่ยนภาษาแล้วมันจะกลับมาเริ่มที่หน้า home ของอีกภาษาเสมอ

  1. ใช้ปลั๊กอินช่วยในการแยกแต่ละภาษา
    คือ รวมระบบทุกอย่างรวมในเว็บเดียว เวลาแก้ แก้ที่เดียว อัพเดทระบบที่เดียว เว็บแต่ละหน้า สามารถคลิกไปอีกภาษาในเนื้อหาเดียวกันได้ แต่มีข้อเสีย ก็คือระบบทำงานหนักกว่าแยกเว็บ เนื่องจากต้องคอยเช็คตลอดว่าขณะนั้นอยู่ในภาษาอะไร ทำให้มักจะแสดงผลช้ากว่า

การทำเว็บหลายภาษาบน WordPress แบบแยกเว็บ

1) ติดตั้ง WordPress ที่ Directory ให้เรียบร้อย

สำหรับวิธีการติดตั้ง WordPress ของแต่ละ Hosting อาจมีขั้นตอนไม่เหมือนกัน วิธีที่ง่ายที่สุด แนะนำให้คุณติดต่อผู้ให้บริการโฮสติ้งที่คุณใช้อยู่ (โฮสทุกเจ้ามีบริการลง WordPress ให้ฟรี) แจ้งเขาไปว่า ให้ติดตั้ง WordPress ที่ Directory ของโดเมนที่คุณต้องการ เช่น mydomain.com/en แบบนี้เป็นต้น

การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

2) โคลนนิ่ง เว็บโดเมนหลัก มาใส่ที่ เว็บ Directory

สำหรับวิธีการโคลนิ่งเว็บ เราจะใช้ปลั๊กอิน All in on migration ในการทำ

การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

3) สร้างเมนูเพื่อเชื่อมโยงเว็บ

สำหรับการสร้างเมนูเราต้องสร้างเมนูแบบ Custom Links เข้าไปที่ Appearance > Menu > Custom Links > ที่ URL ให้ใส่โดเมนภาษาหลัก > Link text ให้ใส่ตัวย่อของภาษานั้นลงไป

การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

ให้สร้างเมนูแบบ Custom Links มา 2 ชุด แล้วทำแบบนี้ทั้งบนเว็บที่เป็นโดเมนหลัก และเว็บที่เราจะทำเป็นภาษาที่ 2

การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

เราก็จะได้เว็บ 2 เว็บที่เชื่อมโยงกันแล้ว จากนั้นเราก็เข้าไปแปลภาษาของอีกเว็บเป็นอีกหนึ่งภาษา เช่น แปลเป็นภาษาอังกฤษ เป็นต้น

4) วิธีเปลี่ยนตัวอักษรเป็นธงชาติ

อันดับแรกให้เราเตรียมรูปธงชาติของแต่ละภาษาไว้ ให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นเราต้องแปลงรูปภาพให้เป็นโค้ด HTML เพื่อนำไปวางที่เมนู

วิธีแปลรูปภาพเป็น HTML

เข้าไป add new post > add media เพื่ออัพโหลดรูปเข้าเว็บ ย่อรูปให้เล็กลง > เลือก mode text > เราจะได้โค้ด HTML ของรูปภาพนั้นแล้ว

การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

คัดลอก HTML ของรูปนี้เก็บไว้ก่อน

การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

จากนั้นให้เราไปที่เมนูวางโค้ดนี้ลงไปในส่วนของ Navigation Label ของเมนูนั้น

การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

ทำแบบนี้ ทั้ง 2 เมนูภาษาที่เราได้สร้างไว้ จากนั้นลองไปดูหน้าเว็บของเรา ให้ทำแบบเดียวกัน กับเว็บภาษาที่ 2 ที่เราได้สร้างไว้ที่ directory

การใช้ปลั๊กอินในการช่วยแยกแต่ละภาษา

การใช้ปลั๊กอินช่วยในการแยกแต่ละภาษาแนะนำให้ใช้เป็น WPML เป็นตัวเสียตังค์ แต่มาตรฐานที่สุด ปลั๊กอินต่างๆ รองรับเยอะมาก ถ้าต้องเลือกใช้ปลั๊กอินแนะนำเป็นตัวนี้

ขั้นตอนใช้งานปลั๊กอิน WPML

  1. ไปซื้อปลั๊กอินเตรียมไว้ได้เลย ราคาแพคเกจเริ่มต้นคือ 29 $ เข้าไปดูรายละเอียดของแต่ละแพคเกจของ WPML ได้ที่นี่
  2. หลังจากเราซื้อปลั๊กอินเรียบร้อยแล้ว ให้เราเข้าไปดาวน์โหลดปลั๊กอินเพื่อมาใช้งานได้ที่หน้า accout และคลิกตรงส่วน download ได้เลยการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress
  3. พอเข้าสู่หน้า download จะเจอปลั๊กอินมากมาย ที่มาพร้อมกับแพคเกจที่ได้เลือกซื้อไว้ โดยในเบื้องต้นปลั๊กอินที่เราจะใช้งานมีอยู่ 2 ตัว คือ WPML Multilingual CMS และ WPML String Translation ดาวน์โหลดมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมของเราได้เลยการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress
  4. จากนั้นให้ติดตั้งปลั๊กอินทั้ง 2 ตัวให้เรียบร้อยบนเว็บไซต์ของเรา โดยมีหลักการอยู่ว่าให้ลงปลั๊กอิน ตัวหลัก คือตัว WPML Multilingual CMS ก่อน จากนั้นค่อยลง WPML String Translation ตามทีหลังการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

  5. ไปที่แถบเมนู คลิก WPML เพื่อเข้าสู่หน้าการใช้งานปลั๊กอิน ให้เลือกภาษาหลักของเว็บที่เราต้องการ จากนั้นคลิก nextการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress
  6. ขั้นตอนต่อมาให้เราเลือกภาษาที่สองของเว็บนี้
  7. ทำการเพิ่ม switcher เปลี่ยนภาษาเข้าไปบนเมนู โดยการคลิกไปที่  add a new language switcher to a menuการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress
  8. ปรับเปลี่ยน switcher option  และคลิก save ให้เรียบร้อย

    จากนั้นให้คลิก Next

    การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

  9. พอเข้ามาถึงหน้าที่ต้อง Registration ให้เราคลิก Remind me later หากเรายังไม่ต้องการลงทะเบียนมันตอนนี้การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPressคลิกFinish ได้เลยการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress
  10. เพื่อให้ URL ตอนเปลี่ยนภาษาออกมาสวย ตรงตาม URL ของภาษาหลัก ในส่วนของ Language URL format ให้เราติ๊ก Different languages in directories ถ้าเป็นปลั๊กอินตัวอื่นที่เป็นตัวฟรีจะไม่สามารถทำในส่วนนี้ได้การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress
  11. ต่อมาไปที่หน้า page หรือ post ที่เราต้องการแปลภาษา จากนั้นให้คลิกเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มภาษาที่สองการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress
  12. ระบบปลั๊กอินก็จะพาเรามาหน้าที่จะใช้แปลภาษา และเพื่อให้ง่ายที่สุด ให้เรากด Overwrite with English content จะได้ไม่ต้องมานั่งจัด layout หน้าเว็บใหม่การจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress
  13. หน้าที่เราเห็นต่อไปนี้คือหน้าที่จะแสดงตอนที่เราเลือก โดยสังเกตรูปธงชาติ จากนั้นให้เราค่อยๆ ไล่เปลี่ยน text ให้เป็นภาษานั้นๆ เช่น หากเราต้องการเปลี่ยนจากอังกฤษเป็นไทยก็เปลี่ยน text ให้เป็นภาษาไทยทั้งหมด

    ข้อสังเกต

            ในเวอร์ชั่นภาษาไทย พวก slider ด้านบนและแถบเมนูต่างๆ หายไป นั่นหมายความว่านอกจากเราจะไล่เปลี่ยนภาษาที่หน้า page และ post แล้ว เราต้องไปเพิ่มข้อมูลภาษาที่สอง ในส่วนต่างๆ ของเว็บเราให้หมดด้วย เช่น ในส่วนของ Slider, Menu, Widget ต่างๆ อีกด้วย

  14. จัดการแปลภาษาในส่วนของ Slider ให้เราไปที่เมนู Slider ของธีมที่เราใช้กันได้เลย จากนั้นให้เราเข้าไปไล่ edit เปลี่ยนภาษาของแต่ละ slider ทำเหมือนตอนแปลหน้า page เลย โดยการคลิกเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มภาษาที่สอง

การแปลภาษาตรงส่วน Menu

  1. ให้เราไปที่ส่วนปรับแต่ง Menu ที่ Appearance โดยดูตรงแถบแสดงภาษา หากเราต้องการทำเมนูภาษาอังกฤษก็เลือกเป็นภาษาอังกฤษสังเกตที่แถบธง จากนั้นก็กด create a new menu ได้เลยการจัดการเนื้อหาเว็บไซต์หลายภาษา WordPress

    บทสรุป

    แม้ว่า การทําเว็บหลายภาษา โดยใช้ปลั๊กอิน WPML จะใช้งานได้ไม่ยาก แต่ระบบจะทำงานหนักกว่าแยกเว็บ เนื่องจากต้องคอยเช็คตลอดว่าขณะนั้นอยู่ในภาษาอะไร ทำให้มักจะแสดงผลช้ากว่า ถ้าทำเว็บเล็กๆ มีไม่กี่หน้า ใช้งานปลั๊กอินนี้ได้ไม่มีปัญหา แต่หากเราเป็นเว็บใหญ่ การทำแยกข้อมูลเป็นคนละเว็บไปเลยจะดีกว่าครับ

    โดยเฉพาะเว็บร้านค้า ทำเป็นคนละเว็บ แยกอีกเว็บนึงไปที่ซับโดเมนเลยจะง่ายกว่า เพราะมันต้องมีการแปลในส่วนของ ข้อมูลสินค้า / การจัดกลุ่มสมาชิก / แบบฟอร์ม / อีเมลอัตโนมัติที่ส่งให้สมาชิก และอีกมากมาย หากใช้งานปลั๊กอินตัวนี้ การแปลเองทีละส่วนคงยุ่งหน้าดูครับ